หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  Microsoft Excel 2010
 Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภท สเปรดชีต (spreadsheet) หรือตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลในลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักเก็บข้อมูลประเภทการคำนวณ โดยจะเก็บข้อมูลลงในตารางสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า เซล (Cell)ที่สามารถนำเอาเซลมาอ้างอิงใส่ในสูตร เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่บันทึกไว้ได
แนะนำหน้าต่างของวินโดว์ Excel


      - ปุ่ม  เรียกว่า “Office Button” แสดงเมนูที่ใช้จัดการไฟล์ทั่วไป เช่น New, Open, Save as, Print และ Publish เป็นต้น
           - Quick Access Toolbar แสดงปุ่มคาสั่งที่ใช้บ่อยๆ โดยค่าเริ่มต้นจะแสดงเครื่องมือ  Save,
Undo ,และ Redo ซึ่งเราสามารถกาหนดเครื่องมือในส่วนนี้เองได้

           - Title bar แสดงชื่อเวิร์กบุ๊คที่ใช้งานอยู่และชื่อโปรแกรม ในที่นี้คือ Microsoft Excel
           - Ribbon เป็นกลุ่มคาสั่งที่เก็บเครื่องมือออกเป็นหมวดหมู่ โดยแสดงเป็นแท็บ แทนที่การเรียกใช้เมนูคาสั่งต่างๆในเวอร์ชั่นก่อนๆ
           - Contextual tabs เป็นแท็บพิเศษที่จะแสดงเมื่อใส่ออบเจ็คลงในเวิร์กชีต เช่น เมื่อแทรก WordArt โปรแกรมจะแสดง Drawing Tool ด้านบนและมีแท็บ Format ที่ใช้สาหรับตั้งค่า WordArt แสดงอยู่ด้านล่าง
           - Worksheet เป็นแผ่นงานมีลักษณะเป็นตาราง สาหรับพิมพ์ข้อความ หรือตัวเลข โดยค่าที่ตั้งไว้เมื่อเข้าใช้โปรแกรมจะมี 3 sheet คือ sheet1,sheet2 และsheet3สามารถ
เพิ่มจำนวนเวิร์กชีตในเวิร์กบุ๊คได้ตามต้องการ
           - View Shortcuts ใช้ดูมุมมองเอกสาร โดยจะแสดงมุมมองของเอกสารในลักษณะต่างๆ
           - Zoom และ Zoom Slider เป็นเครื่องมือย่อ-ขยายหน้าจอ โดยเลือกขนาดตามเปอร์เซ็นต์ที่ต้องการย่อ-ขยาย หรือเลื่อนสไลเดอร์ที่เครื่องมือ Zoom Slider ตามความต้องการ
การสร้างเวิร์กบุ๊คใหม่
เวิร์กชีต ( Worksheet )   หรือถ้าเป็นโปรแกรมExcelภาษาไทยจะเรีนกว่า แผ่นงาน ในแผ่นงานจะประกอบด้วยช่องตารางสี่เหลี่ยมจำนวนมากซึ่งมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้
 Row ( แถว )                                          คือพื้นที่แถวแนวนอนจากบนลงล่าง ตั้งแต่แถวที่ 1 ไปจนถึง
                                                                 แถวที่ 65536 ชื่อของเถวคือหมายเลขที่แสดงที่หัวแถว
 Column ( คอลัมน์ )                             คือพื้นที่คอลัมน์แนวตั้งจากซ้ายไปขวา จากคอลัมน์ A ไปจนถึง
                                                                 คอลัมน์ IV จะมัทั้งหมด 256 คอลัมน์ ชื่อของคอลัมน์คือ                                                                  ชื่อตัวอักษรที่อยู่บนหัวคอลัมน์ เช่น A, B, C,...
 Cell ( เซล )                                            อยู่ตรงคอลัมน์ B แถวที่ 3 ก็จะเรียกว่าเซล B3                                                                   เซลที่กำลังเลือกหรือกำลังทำงาน เราเรียกเซลนั้นว่า Active cel
   เริ่มใส่ข้อมูล เมื่อเข้าสู่ Excel โปรแกรมจะสร้างเวิร์กบุ๊คใหม่ให้โดยอัติโนมัติพร้อมตั้งชื่อว่า Book1 l
           จัดรูปแบบให้เวิร์กชีต เราสามารถตกแต่งข้อมูลให้น่าสนใจ เช่น เน้นข้อความหัวเรื่องด้วยตัวหนา สีแดง  เพื่อแยกข้อมูลให้ดูแตกต่างกัน
 การเก็บบันทึกเวิรก์บุ๊ค
 1.คลิกปุ่ม ( บันทึก ) หรือกด Ctrl+S จากแป้นพิมพ์
 2.เลือกไดรว์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บบันทึก
 3.ตั้งชือที่ช่อง File Name ตั้งชื่อได้ยาว 256 ตัวอักษร ยกเว้น\ / * < >!
 4.คลิกที่ปุ่มคำสั่ง บันทึก
การใช้แถบเครื่องมือ
          เครื่องมือใน Excel 2003 ก็จะมีหน้าตาคล้ายๆกับ Office ตัวอื่นๆ ตามปกติจะแสดงเพียง 2 ชุดคือ  แถบเครื่องมือ Standard ( มาตรฐาน ) และ Formatting ( จัดรูปแบบ )
           แถบเครื่องมือ Standard ( มาตรฐาน ) มีปุ่มเครื่องมือที่ใช้บ่อยๆ หรือเป็นการทำงานพื้นฐานของโปรแกรม  เช่น ปุ่ม New , Open
            มีปุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการจัดรูปแบบข้อมูลในเซล เช่น เลือกฟอนต์ ขนาด หรือลักษณะ, จัดข้อมูลชิดขวา ซ้าย และการใส่สีข้อความหรือพื้น ฯลฯ
การเปิดงานเก่ามาใช้งาน
 1. คลิกปุ่ม Open ( เปิด ) หรือกดคีย์ Ctrl+O
 2. คลิกที่ลูกศรซ้ายช่อง Look in ( มองหาใน ) แล้วเลือกไดรว์และดับเบิ้ลคลิกที่โฟลเดอร์ที่เก็บเวิร์กบุ๊กไว้
 3. คลิกที่ชื่อไฟล์เวิร์กบุ๊ค
 4. คลิกที่ปุ่ม ( เปิด )
การแก้ไขข้อมูลในเซล
1. คลิกตรงที่เซลที่จะแก้ไข แล้วพิมพ์ข้อมูลใหม่ลงไป
2. คลิกที่เซลที่จะแก้ไข แล้วกดปุ่ม F2 ที่คีย์บอร์ด จะเป็นการแก้ไขในโหมด Edit
3. ดับเบิ้ลคลิกตรงที่เซลที่จะแก้ไข แล้วเลื่อนเคอร์เซอร์ไปแก้ไขข้อมูลภายในเซลได้
4. คลิกตรงที่เซลที่จะแก้ไขแล้วดูที่แถบสูตรคำนวณ ( formula bar )  แล้วคลิกเมาส์ที่แถบสูตรเลยเพื่อแก้ไข
  ข้อมูล
ลากเมาส์คลุมข้อความที่ต้องการแก้ไข แล้วสามารถพิมพ์ข้อมูลใหม่ลงไปได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น