การจัดรูปแบบข้อมูล
มารู้จักกราฟ Excel กันเถอะ
กราฟ หรือ "ชาร์ต" ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลขได้ชัดเจน และสื่อความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบความมากน้อยหรือแสดงแนวโน้วของค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยอดขายสินค้า รายได้ - รายจ่าย หรือแม้กระทั่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นต้น |
ทำความรู้จักกับกราฟ
ตัวอย่าง |
ตัวอย่างนี้เป็นการสรุปยอดรายจ่ายประจำเดือนมกราคม,กุมภาพันธ์และมีนาคม |
1. เลือกกลุ่มข้อมูลที่ต้องการสร้างกราฟ ปกติจะเลือกทั้งส่วนที่เป็นข้อมูล และชื่อแถวหรือคอลัมน์ ของข้อมูลนั้นด้วย ( ยกเว้นไตเติล ) |
2. คลิกปุ่มแทรกแล้วเลือกชนิดของแผนภูมิที่ต้องการเช่น ถ้าใช้กราฟแท่ง เลือก Column ( คอลัมน์ ) |

3. เมื่อคลิกเลือกประเภทของกราฟแล้ว จะได้กราฟปรากฏบน เวิร์กชีต |

5. ปรับแต่งกราฟ เช่นคำอธิบายสีกราฟ ( Legend ) ถ้าไม่ต้องการให้คลิกเลือกส่วนนั้น
แล้วกด Delete
เลือกใช้กราฟประเภทไหนดี
แล้วกด Delete
เลือกใช้กราฟประเภทไหนดี

ใส่ภาพลงเวิร์กชีต Excel
ใน Excel นั้นนอกเหนือจากข้อความ ตัวเลข และสูตรคำนวณที่ใส่ลงไปแล้ว คุณสามารถที่จะแทรกรูปภาพเข้ารมาประกอบเนื้อหา หรือใช้ตกแต่งเวิร์กชีตให้สวยงามเหมือนๆกับโปรแกรมอื่น
การแทรกภาพจากแฟ้ม
1. คลิกในตำแหน่งที่จะแทรกรูปภาพ แล้วเลือก แทรก -> รูปภาพ
2. เปิดไปยังที่เก็บรูปภาพ และคลิกเลือกรูปภาพที่จะแทรก
3. คลิกปุ่ม Insert ( แทรก )
4. รูปภาพจะถูกวางลงในเวิร์กชีต จากนั้นเราก็มาปรับแต่งเพิ่มเติมได้ เช่น ย่อ/ขยาย
ย้ายตำแหน่ง ปรับสี
2. เปิดไปยังที่เก็บรูปภาพ และคลิกเลือกรูปภาพที่จะแทรก
3. คลิกปุ่ม Insert ( แทรก )
4. รูปภาพจะถูกวางลงในเวิร์กชีต จากนั้นเราก็มาปรับแต่งเพิ่มเติมได้ เช่น ย่อ/ขยาย
ย้ายตำแหน่ง ปรับสี


การปรับแต่งรูปภาพ
การเคลื่อนย้ายรูปภาพ โดยการลากเมาส์ค้างไว้แล้วไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

เปลี่ยนขนาดของภาพโดยใช้เมาส์
สำหรับจุดวงกลมเล็กๆสีขาว ( handle ) รอบๆรูปนั้นมี 8 จุดด้วยกัน จะใช้ในการปรับขนาดของรูปโดยคลิกลากจุดด้านที่ต้องการปรับ หรือคลิกลากที่มุมของรูปหากจะปรับสองด้านพร้อมกันในสัดส่วนเดิม
สำหรับจุดวงกลมเล็กๆสีขาว ( handle ) รอบๆรูปนั้นมี 8 จุดด้วยกัน จะใช้ในการปรับขนาดของรูปโดยคลิกลากจุดด้านที่ต้องการปรับ หรือคลิกลากที่มุมของรูปหากจะปรับสองด้านพร้อมกันในสัดส่วนเดิม

การตัดภาพบางส่วน
ภาพที่ต้องการตัดออกบางส่วนเพื่อเน้นเฉพาะบางจุด หรือตัดรายละเอียดบางส่วนของภาพทิ้งไป อาจใช้วิธีที่เรียกว่า Cropping เพื่อปิดบางส่วนของภาพนั้นไม่ให้แสดง ซึ่งคล้ายกับการนำกระดาษมาวางปิดส่วนที่ไม่ต้องการแสดงไว้ หรือถ้าเกิดเปลี่ยนใจในภายหลังให้กลับมาแสดงทุกส่วนก็ทำได้
ภาพที่ต้องการตัดออกบางส่วนเพื่อเน้นเฉพาะบางจุด หรือตัดรายละเอียดบางส่วนของภาพทิ้งไป อาจใช้วิธีที่เรียกว่า Cropping เพื่อปิดบางส่วนของภาพนั้นไม่ให้แสดง ซึ่งคล้ายกับการนำกระดาษมาวางปิดส่วนที่ไม่ต้องการแสดงไว้ หรือถ้าเกิดเปลี่ยนใจในภายหลังให้กลับมาแสดงทุกส่วนก็ทำได้

การหมุนรูปภาพ |
โดยปกติแต่ละภาพจะมีจุดปรับหมุนเพื่อให้ภาพไปอบู่ในมุมต่างๆได้ตามความเหมาะสม การหมุนภาพนั้นกระทำได้ง่ายโดยใช้เมาส์ลากที่จุดจับหมุน ซึ่งจะหมุนได้อย่างอิสระ |

ปรับความสว่างให้ภาพ
ภาพที่นำมาใส่ในเวิร์กชีตนั้น อาจมีจุดบกพร่องที่ยังไม่ได้แก้ไข เช่น มืดไป สว่างไป สามารถปรับแต่งได้อย่างง่ายดังนี้
ภาพที่นำมาใส่ในเวิร์กชีตนั้น อาจมีจุดบกพร่องที่ยังไม่ได้แก้ไข เช่น มืดไป สว่างไป สามารถปรับแต่งได้อย่างง่ายดังนี้

การจัดลำดับภาพ
ในกรณีที่นำรูปภาพมาวางหลายๆรูป ภาพที่วางก่อนจะอยู่ด้านล่างส่วนภาพที่วางทีหลังจะอยู่บนสุดทับรูปภาพอื่นๆที่วางก่อนหน้า แต่คุณสามารถจัดลำดับรูปภาพใหม่ได้ดังนี้
1. คลิกเลือกรูปภาพ
2. คลิกขวาที่ภาพ เลือกคำสั่ง Order ( ลำดับ )
Bring to Front ( นำไปไว้ข้างหน้าสุด ) รูปที่จะอยู่ด้านบนสุดของทุกๆรูปที่อยู่ในชั้นเดียวกัน
Send to Back ( ย้ายไปไว้ข้างหลังสุด ) รูปที่เลือกจะอยู่ด้านล่างสุดของทุกๆรูปที่อยู่ในชั้น
เดียวกัน
Bring Forward (นำไปข้างหน้า ) รูปที่เลือกจะเขยิบหรือเลื่อนขึ้นมาหนึ่งชั้นในระดับเดิม
Send Backward ( ย้ายไปข้างหลัง ) รูปที่เลือกจะเขยิบหรือเลื่อนลงไปหนึ่งขั้นใน
ระดับชั้นเดิม
ในกรณีที่นำรูปภาพมาวางหลายๆรูป ภาพที่วางก่อนจะอยู่ด้านล่างส่วนภาพที่วางทีหลังจะอยู่บนสุดทับรูปภาพอื่นๆที่วางก่อนหน้า แต่คุณสามารถจัดลำดับรูปภาพใหม่ได้ดังนี้
1. คลิกเลือกรูปภาพ
2. คลิกขวาที่ภาพ เลือกคำสั่ง Order ( ลำดับ )
Bring to Front ( นำไปไว้ข้างหน้าสุด ) รูปที่จะอยู่ด้านบนสุดของทุกๆรูปที่อยู่ในชั้นเดียวกัน
Send to Back ( ย้ายไปไว้ข้างหลังสุด ) รูปที่เลือกจะอยู่ด้านล่างสุดของทุกๆรูปที่อยู่ในชั้น
เดียวกัน
Bring Forward (นำไปข้างหน้า ) รูปที่เลือกจะเขยิบหรือเลื่อนขึ้นมาหนึ่งชั้นในระดับเดิม
Send Backward ( ย้ายไปข้างหลัง ) รูปที่เลือกจะเขยิบหรือเลื่อนลงไปหนึ่งขั้นใน
ระดับชั้นเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น